ทำความรู้จักกับปลากัดสายพันธุ์ไทย

ปลากัดสายพันธุ์ไทย
Lifestyle

ทำความรู้จักกับปลากัดสายพันธุ์ไทย

สัตว์เลี้ยงที่ใครหลายๆ คนนิยมในปัจจุบันมีมากมายหลายรูปแบบ แต่ในบทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “กับปลากัดสายพันธุ์ไทย” และประวัติต่างๆ ที่น่าสนใจกันครับ จะมีข้อมูลใดบ้างนั้น เราไปดูกันเล้ยย!!

ความเป็นมาของปลากัด

ปลากัด  มีชื่อสามัญว่า  Siamese  Fighting  Fish   เป็นปลาสวยงามที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมานานแล้ว   เนื่องจากเป็นปลาสวยงามที่นอกจากจะมีสีสันสดเข้มสวยงามสะดุดตามากแล้ว   ยังเป็นปลาที่จัดว่าเป็นยอดนักสู้ตัวฉกาจอย่างยิ่ง   โดยเฉพาะปลากัดที่ไปจากประเทศไทยจัดว่าเป็นปลาที่กัดเก่งและมีความทรหดมากที่สุด   ทำให้ได้รับความนิยมจากประเทศต่างๆทั่วโลก   ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงปลากัดมานานแล้ว   และได้เน้นเป็นการเลี้ยงเพื่อเกมกีฬาโดยเฉพาะมีการจัดตั้งเป็นบ่อนการพนัน

ประวัติศาสตร์ไทยกับปลากัด ตั้งแต่สมัยก่อนในชนบทเมื่อชาวบ้านเสร็จจากงานเพาะปลูก มักจะหอบหิ้วเอาปลากัดมากัดแข่งขันกันเป็นงานอดิเรก และเป็นความเพลิดเพลินถือเป็นกีฬาพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของสยามประเทศที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเสน่ห์ของปลากัดที่นอกจากจะมีลีลาการต่อสู้ที่ดุเดือดเร้าใจและทรหดอดทนแล้ว จากบันทึกของมิสเตอร์ เอช. เอ็ม. สมิท  ที่ปรึกษาด้านสัตว์น้ำในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งได้ชมการกัดปลามามากกว่า 100 ครั้ง บันทึกไว้ว่า… การกัดปลาของคนไทยไม่ใช่เรื่องโหดร้าย ป่าเถื่อน สยดสยองเหมือนดังที่เข้าใจกัน แต่เป็นการต่อสู้ที่เร้าใจ เต็มไปด้วยศิลปะ และความงาม ในลีลาการเคลื่อนไหวที่สง่างาม คล่องแคล่ว เฉียบแหลม และอดทน เมื่อเกมสิ้นสุด ปลาทั้งคู่อาจมีสภาพถูกกัดขาดวิ่น หรือเกล็ดหลุด แต่ภายในเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ก็สามารถงอกกลับมาเป็นปกติใหม่ดังเดิม”

ข้อควรรู้สำหรับมือใหม่ในการเลี้ยง ปลากัดสวยงาม”

การใส่ “หินประดับ” รองพื้นโหล ต้องพึ่งระวังหินบางชนิดมีความคมอาจทำให้บาดตัวปลาได้ และหินกลายเป็นที่หมักหมม ของเศษอาหารและของเสียต่างๆ ทำให้ดูแลความสะอาดยาก แต่ถ้าอดใจไม่ได้ ก็ให้นำหินออกมาล้างทำความสะอาดบ่อยๆ

การเปลี่ยนน้ำ เราควรเปลี่ยนน้ำ ทุกๆ 3-5 วัน ไม่แนะนำให้ถ่ายน้ำ 100% ทุกครั้ง เปลี่ยนถ่ายแค่ครั้งละประมาณ 30-50% ก็พอ แต่ควรหาสายยางเส้นเล็กหรือสายอ๊อกซิเยนดูดขี้ปลาก้นโหลด้วยเพราะขี้ปลาจะทำให้เกิดแก๊สอุณหภูมิของการถ่ายน้ำไม่ควรห่างกัน ปลาอาจเกิดภาวะช็อกน้ำได้ ไม่ควรห่าง 5-7 องศา

การใส่เกลือเมื่อเปลี่ยนน้ำใหม่ การใส่เกลือ จะช่วยลดความเครียดของปลา และช่วยให้เหงือกกับ ไตของปลาทำงานที่ได้ดีขึ้น ลดการติดเชื้อต่างๆได้ เกลือยังฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้อีกด้วย ปริมาณที่พอเหมาะก็คือ 0.5-1 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร และต้องเป็นเกลือที่ไม่มีไอโอดีนด้วยเพราะจะทำให้ปลาระคายเคืองได้

การเลี้ยงปลากัดใน “ห้องแอร์” นั้นสามารถเลี้ยงได้ แต่ไม่ค่อยดี  ภูมิของปลาจะต่ำลง ที่จะต่อสู้กับโรค ก็น้อยลงตามไปด้วย ทำให้ป่วยและติดเชื้อได้ง่าย อุณหภูมิที่ดีคือ 27-29 องศาแนะนำถ้าเลี้ยงในที่ที่มีอากาศ “เย็น” ก็ติดฮีตเตอร์ซักนิด

การใส่ใบหูกวาง สามารถใส่ได้และจะช่วยทำให้ปลาในสดชื่นใช้เรื่องน้ำเน่าเสียและช่วยยับยังแบคทีเรียในน้ำและเวลาเพาะวอดจะก่อติดดีกว่าไม่ใส่ใบหูกวาง

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ปลากัดสายพันธุ์ไทย” ที่มีประวัติอันยาวนานที่เราได้นำมาฝากทุกๆ คนในการบทความนี้ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกๆ ท่าน ไม่มากก็น้อยกันนะครับ

Back To Top