วิธีเลี้ยงปลาในบ่อดิน ทำบ่อดินง่ายๆ ต้นทุนไม่เยอะ

วิธีเลี้ยงปลา
Lifestyle

วิธีเลี้ยงปลาในบ่อดิน ทำบ่อดินง่ายๆ ต้นทุนไม่เยอะ

ปัจจุบันนี้การเลี้ยงปลามีหลากหลายวิธี ทั้งการเลี้ยงตามธรรมชาติซึ่งมีการดูแลรักษาที่ง่ายแต่ให้ผลผลิตที่น้อย หรือจะเป็นการเลี้ยงในบ่อดิน มีการดูแลรักษายากแต่ให้ผลผลิตที่มาก เพราะน้ำในบ่อจะมีเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคระบาดและมีกลิ่นโคลน อย่างไรก็ตามการเลี้ยงปลาก็เป็นหนึ่งวิธีในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว เป็นการพัฒนาการใช้ที่ดินให้เกิดผล ผลิต เช่น ใช้ที่ดิน ซึ่งเป็นที่ลุ่ม หรือที่ดินที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก มาดัดแปลงแก้ไข ให้เกิดผลผลิตเป็นปลา ซึ่งเป็นอาหารโปรตีน ผลผลิตต่อหน่วยเนื้อที่ของบ่อสูงมาก เมื่อเทียบกับผลผลิต จากแหล่งน้ำธรรมชาติวันนี้จึงนำเอาวิธีการเตรียมบ่อดินโดยไม่มีกลิ่นโคลนเพื่อเตรียมเลี้ยงปลากันเลย

วิธีการทำบ่อดินเตรียมเลี้ยงปลา

  1. เลือกทำเล 

การทำบ่อเลี้ยงปลา สิ่งที่จะต้องพิจารณาเบื้องแรก ได้แก่ การเลือกหาสถานที่ หรือทำเลที่เหมาะแก่การดำเนินการเลี้ยงปลา ข้อที่ควรจะนำมาพิจารณาก็คือ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศควรเป็นทำเลที่มีเชิดลาดกว้าง เมื่อสร้างบ่อสามารถที่จะระบายน้ำได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ ลักษณะดิน ดินควรจะเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายน้ำไม่ซึมหรือรั่ว ปริมาณน้ำ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงปลา การสร้างบ่อเลี้ยงควรจะอยู่ในที่ ซึ่งมีน้ำอุดมสมบูรณ์ เช่น ใกล้แม่น้ำลำคลอง หนองบึง ซึ่งมีน้ำตลอดปี เป็นต้น 

  1. ความลึกของบ่อเลี้ยงปลาต้องสัมพันธืกับความกว้างของบ่อ

ความลึกของบ่อมีส่วนทำให้บริเวณขอบบ่อถูกบังคับให้ขยายกว้างออกไป เช่น บ่อจะต้องมีชานพักบ่อ หรือสโลบ เพื่อป้องกันการพังทลายของดินในบ่อ ชานพักบ่อหรือสโลปสำคัญกับบ่อเลี้ยงปลา หากขุดแล้วใช้พลาสติกปูบ่อ หรือผ้ายางปูบ่อ เพื่อรองก้นบ่อสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ จะต้องมั่นใจว่า สามารถจัดการเรื่องการถ่ายเทความสกปรกออกไปได้ เพราะบ่อแบบปิดนั้นจพเป็นจ้องมีการถ่ายเทน้ำอย่างน้อย 20% ในทุกเดือนหรือ 3 เดือน 

  1. ขนาดความลึกที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลา

โดยปกติแล้ว ถ้าไม่ใช่การเลี้ยงปลาใหญ่ในแม่น้ำ ไม่จำเป็นต้องขุดลึกเกิน 2 เมตร บ่อเลี้ยงปลามีความลึกเพียง 0.5 เมตรก็เลี้ยงปลาได้ และปลาก็สามารถเติบโตได้ดีด้วย แต่หากจะเลี้ยงปลาบึก ปลาสวาย อาจจะต้องขุดลึดถึง 5 เมตร แต่ส่งที่สำคัญที่สุดคือในบ่อจะต้องมีพื้นที่ทั้งลึกทั้งตื้นด้วย เพราะพื้นที่ตื้นๆ นั้นมีไว้เพื่อใช้อนุบาลลูกปลาที่เกิดใหม่ เป็นแหล่งอาศัยของปลาเล็ก นั่นเอง 

  1. คันบ่อ เป็นส่วนสำคัญในการเก็บกักน้ำ หากสร้างคันบ่อในพื้นที่เป็นกรวด หรือที่แฉะจะต้องขุดให้ถึงส่วนที่เป็นดินแข็ง บริเวณที่จะตั้งคันต้องถากถางเอาหญ้า ต้นไม้ กิ่งไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด หากดินบริเวณนั้นเก็บน้ำไม่ดี จะต้องขุดร่องทำแกนกลางด้วยดินเหนียว ในที่ดินปนทราย ความกว้างของคันดินจะต้องเป็น ๒ เท่า และมีแกนกลางที่เป็นดินเหนียวหนา ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ดินที่ใช้ทำคันควรปราศจากเศษไม้ ก้อนหิน
  2. ท่อทางระบายน้ำออก ระบบการระบายน้ำมี หลายแบบด้วยกัน แบบธรรมดา สำหรับบ่อขนาดเล็กใช้ฝังท่อใต้คันดิน ในตำแหน่งที่ต่ำสุด เพื่อให้การระบายน้ำได้ถึงก้นบ่อ เพื่อความรวดเร็วในการระบายน้ำ ขนาดของท่อควรมีความสัมพันธ์กับขนาดบ่อ ท่อระบายน้ำควรทำด้วยวัตถุที่ทนทาน เช่น ซีเมนต์ไฟเบอร์กลาส หรือเหล็กอบสังกะสี การวางท่อควรป้องกันน้ำไหลซึมข้างๆ ด้วยการหุ้มท่อด้วยคอนกรีตเป็นตอนๆ ควรวางท่อต่ำกว่าก้นบ่อ ๓๐-๔๐ เซนติเมตร

และนี่ก็เป็นวิธีการเตรียมบ่อดินสำหรับเลี้ยงปลา ซึ่งปลาแต่ะชนิดก็มีวิธีการเลี้ยงและดูแลแตกต่างกันออกไป  ดังนั้นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการศึกษาวิธ๊การเลี้ยงปลาอย่างถูกต้องนั่นเอง 

Back To Top