7 สิ่งที่ดี สำหรับการเลี้ยงปลาของคุณ

การเลี้ยง
My Blog

7 สิ่งที่ดี สำหรับการเลี้ยงปลาของคุณ

ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ เป็นสัตว์เลี้ยงยอดฮิตชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าปลานั้นมีความสวยงาม เลี้ยงง่าย แถมยังช่วยเสริมฮวงจุ้ย เสริมทรัพย์สิน และเสริมความมั่งคั่งให้กับผู้เลี้ยงได้อีกด้วย  ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นวันนี้จะมาบอกถึงวิธีที่ดีสำหรับการเลี้ยงปลาให้กับคุณ

7 สิ่งที่ดีสำหรับการเลี้ยงปลาของคุณ

  1. การจัดการตู้ปลา

โดยทั่วไปการเลือกตู้ปลาควรเลือกตามขนาดปลา เช่น ขนาดปลา 1 นิ้วต่อน้ำ 5 แกลลอน แต่ถ้าขนาดตู้ยิ่งใหญ่ยิ่งดี ที่สำคัญสถานที่ตั้งของตู้ปลา ไม่ควรใกล้ประตูหรือหน้าต่าง เพราะอาจจะโดนแสงแดด ซึ่งอาจทำให้เกิดตะไคร้ได้ง่าย และควรติดตั้งเครื่องกรองน้ำ เพราะช่วยรักษาคุณภาพน้ำ และช่วยกรองเศษอาหารและของเสียที่ปลาถ่ายออกมาอีกด้วย ควรมีพื้นที่ 1/3 – 1/4 ของพื้นที่ตู้เลี้ยงทั้งหมด สำหรับวัสดุกรองที่นิยมใช้ เช่น หินกรอง, ใยแก้ว, ฟองน้ำ เป็นต้น และการให้ออกซิเจน เป็นสิ่งที่จำเป็นสูงสุดต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้ง ปลา  ซึ่งปริมาณที่ให้ขึ้นอยู่กับชนิดปลาสวยงามที่เลี้ยง จำนวนของปลา

  1.  การจัดการคุณภาพน้ำ

น้ำต้องไม่มีคลอรีน โดยควรพักน้ำให้คลอรีนระเหยจนหมด หรืออาจใช้สารโซเดียมไธโอซัลเฟตหรือสารจับคลอรีนเพื่อเร่งให้คลอรีนหมดเร็วขึ้น ควรเปิดเครื่องกรองน้ำให้ทำงานก่อนปล่อยปลาลงตู้ เพื่อปรับสมดุลแก่จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในระบบ และควรมีการตรวจคุณภาพน้ำอยู่เป็นประจำ เช่น แอมโมเนีย ไนไตรท์ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ความกระด้างหรือสารพิษในน้ำ ซึ่งเบื้องต้นอาจสังเกตุจากสีและกลิ่นของน้ำที่เปลี่ยนไป

  1. สารอาหารที่เหมาะสม 

ปลาที่ได้รับอาหารที่ดีและมีคุณค่าครบถ้วน จะทำให้ปลามีสุขภาพที่ดี โครงสร้างและสีสันสวยงาม มีการเจริญเติบโตที่ดี ซึ่งมีปลาจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลในระยะยาวที่ตามมา เช่น โครงสร้างผิดรูป การเจริญเติบโตช้า สีไม่สวย ภูมิคุ้มกันต่ำ เกิดการเจ็บป่วยเรื่อยรัง ซึ่งสารอาหารที่สำคัญ คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ 

  1. อาหาร 

ชนิดอาหารสำหรับปลาสวยงามมีหลายชนิด โดยรูปแบบอาหารที่มี ได้แก่ ชนิดแผ่น ชนิดเม็ดแบบลอย ชนิดเม็ดแบบจม อาหารสดแช่แข็งหรืออาหารสดมีชีวิต ซึ่งมีสารอาหารแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการให้อาหารจึงคำนึงถึงชนิดปลา ช่วงวัย และขนาดปากของปลาร่วมด้วย ปัจจุบันผู้เลี้ยงสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปได้ง่าย สะดวก และมีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน

  1. ปริมาณอาหาร

การให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม : คือการให้อาหารที่ไม่มากเกินไปจนเหลือ โดยเริ่มสังเกตจากปลาที่กินไม่หมด และตักอาหารที่เหลือออกหลังจากให้อาหาร 15-20  นาที  เพื่อป้องกัน ปริมาณอาหารที่เหลือ อาจแสดงถึง การให้อาหารที่มากเกินความจำเป็น สภาวะแวดล้อมเปลี่ยน หรือ ปลามีอาการป่วย ควรให้อาหารในปริมาณที่น้อยแต่บ่อยครั้ง อาจแบ่งเป็น 2-3 ครั้ง/วัน และควรเปลี่ยนชนิดอาหารใหม่ โดยค่อยๆปรับลดปริมาณอาหารเก่าลง

  1. การเลือกปลาและการปล่อยปลาลงตู้

ควรเลือกปลาที่ตื่นตัว ว่ายน้ำเป็นปกติ ตาใส ท้องเต็มแต่ไม่บวม ครีบสวยสมบูรณ์ หายใจสม่ำเสมอ แล้วก็มีสีสันสดใส อย่าเพิ่งปล่อยปลาลงตู้ ควรเอาปลาที่อยู่ในถุงลอยน้ำในตู้ก่อน เพื่อปรับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกัน ประมาณ 20 – 30 นาที แล้วค่อยๆเติมน้ำลงในถุง เพื่อปรับสมดุล แล้วจึงค่อยๆปล่อยปลาลงตู้

  1. การเปลี่ยนถ่ายน้ำ

เมื่อสังเกตุว่าคุณภาพของน้ำในตู้เริ่มเปลี่ยน ต้องรีบเปลี่ยนน้ำ แต่ต้องระวังอย่าเปลี่ยนน้อยหรือมากจนเกินไป ซึ่งที่แนะนำประมาณ 30 – 50% ของปริมาณน้ำทั้งหมด เพื่อป้องกันปลาเกิดอาการช็อกน้ำ

นี่ก็เป็น 7 สิ่งหรือวิธีการที่ช่วยให้การเลี้ยงปลาสวยงามของคุณนั้นราบรื่นยิ่งขึ้น และน้องปลาของเราจะอยู่กับเราได้นานขึ้น ทั้งยังไม่ส่งกลิ่นเหม็นจากที่น้ำเน่าเสียด้วย 

Back To Top